วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่6

มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
                  มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุดโดยจะต้องมีการกำหนด มาตรฐานความรู้ ซึ่งหมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเช่นวิชาชีพครูจะต้อง มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่อง ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู  การพัฒนาหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้จิตวิทยาสำหรับครู  การวัดและประเมินผลการศึกษา  การบริหารจัดการในห้องเรียน  การวิจัยทางการศึกษา  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  ความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และยังรวมถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง  จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ  จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ  จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ  จรรยาบรรณต่อสังคม
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบันและได้มีการ
ปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษอื่น ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา

กิจกรรมที่5

ต้นแบบ
               ต้นแบบ     คือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่างศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ และต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ  โดยไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบได้เห็น ได้รับฟังได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติศรัทธาเชื่อมั่นจนกลายเป็นแรงบันดาลใจและการที่จะเป็ต้นแบบที่ดี ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี  ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีเพราะจุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี ทำให้เป็นเกิดผลดีแก่เยาวชน และส่งผลที่ดีแก่ประเทศชาติ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่4


                              ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

  การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยิ่งใหญ่คือการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำโดยจะต้องมีเข้าใจถึงระบบของการทำงาน จะต้องมีทัศนคติเปิดกว้างรู้จักยอมรับการเปลี่ยนใหม่ๆไม่ยึดติดอยู่กับความคิดเดิมๆและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา   โดยผู้นำที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และมีเป้าหมายในการทำงานที่แน่นอนผู้นำจะต้องพาคนทุกคนในองค์กรก้าวเดินไปพร้อมกับเขา และคิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ
                                    


วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ประวัติบุคคล

ชื่อ-นามสกุล: นาง มธุรส   จงชัยกิจ         อายุ       56           ปี
วัน เดือน ปีเกิด:  19  มกราคม  2496
คุณวุฒิ:
                ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอก การสอนภาษาฝรั่งเศส
สถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ปริญญาโท  D.S.A  และ  Licence Science de l’Education     สาขาวิชาเอก ภาษาศาสตร์ สถาบัน  Université Grenoble III, France
                ปริญญาเอก  Docteur de 3éme Cycle (Ph.D.)  สาขาวิชาเอก  ภาษาศาสตร์ (Linguistics)
                สถาบัน Université Paris 7, France
ผลงานทางวิชาการ
                ตำรา
                นาตยา มธุรส และ ศิริรัตน์. 2542. การศึกษาตามมาตรฐาน: แนวคิดสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพ:
                บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด. จำนวน 267 หน้า
                มธุรส จงชัยกิจ. 2536. ซีเอไอ/ซีเอแอลกับโปรแกรม Authorware Professional. กรุงเทพ :           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 170 หน้า
                มธุรส จงชัยกิจ. 2535. โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนสื่อผสมคอมพิวเตอร์- วิดีโอ S.VAO.
                กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 65 หน้า
เอกสารคำสอน
                มธุรส จงชัยกิจ. 2532. ภาษาศาสตร์ประยุกต์ในการสอนภาษาฝรั่งเศส: รายวิชา 157511

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
           Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ

กิจกรรมที่ 1

การบริหารการศึกษาหมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

แนะนำตัวเอง

ชื่อ นางสาววราภรณ์  คันธิก
ที่อยู่ 168/5 หม่4  ต.บ้านเกาะ  อ.พรหมคีรี  จ. นครศรีธรรมราช
การศึกษา  จบจากโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
คติประจำใจ  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด