วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบครั้งที่2

1.Classroom Management การบริหารการจัดการในชั้นเรีย การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครู ให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นัดเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.Happiness Classroom การจัดการชั้นเรียนให้มีความสุข เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4.Formal Education การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน
5.Non - Formal Education การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
6. e-Learning การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
7.graded การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8.Policy education นโยบายการศึกษา ค หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ
9. Vision พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ
10.Mission ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11.Goal เป้าหมาย สิ่งที่เป็นตัวกำหนดความต้องการ จุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องการที่จะได้รับ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และวางแผนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จยังจุดที่ตั้งใจไว้ได้ ภายในขอบเขตเวลาที่กำหนดไว้
12. Objective เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้
14. Effectiveness ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย
15. Efficiency ความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งขน อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้
16. Economy การศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity ความเสมอภาพ
18. Empowerment การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถการอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้
19. Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project วิธีทำงานที่เป็นระบบขั้นตอนเพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ให้สำเร็จ
21. Activies การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22. Leadership ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
23. Leaders ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
24. Follows ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ง ความสามารถในการแสดงออกด้านการคิด การพูด การกระทำ ซึ่งรวมถึงอารมณ์ความรู้สึก ทั้งนี้ ความสามารถในการแสดงออกดังกล่าวของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยไม่ไปก้าวก่ายหรือล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และที่สำคัญ เมื่อเจ้าตัวแสดงออกไปแล้วจะต้องไม่รู้สึกผิดด้วย
29. Time management การบริหารเวลา การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลา ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด
30. POSDCoRB หน่วยงาน อาจจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มคนที่มารวมตัวกัน ภายใต้โครงสร้าง โดยมีเป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องการให้บรรลุ
31. Formal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ ผู้นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน
32. Informal Leaders ผู้นำแบบไม่เป็นทางการผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น
33. Environment สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization การให้ความหมายของโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ความหมายของโลกาภิวัตน์ก็เป็นปัญหาในการให้ความหมายในตัวของมันเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่การใช้คำว่าโลกาภิวัตน์มีการใช้อย่างคลาดเคลื่อนอย่างไม่ระมัดระวังตามความเข้าใจของผู้ที่ใช้
33. Competency สมรรถนะ ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น
34. Organization Cultural วัฒนธรรมองค์การ ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
35. Individual Behavior พฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือการรับรู้(Perception)ทัศนคติ (Attitudes)ค่านิยม (Values) การจูงใจ (Motivtion)
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39. Six Thinking Hats เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิดเป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
40. Classroom Action Research การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่น ๆ การศึกษาปัญหาลักษณะนี้

กิจกรรมที่ 15

1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom management  คือ  ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน  เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ  ถ้ามีการจัดการชั้นเรียนที่ดี  การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เหมาะสมเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนนั้นดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้และสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แก่ผู้เรียน  ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนทำให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ   มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู  คือ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  และมาตรฐานการปฏิบัติตน
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
              มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
             มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
         หลักการจัดชั้นเรียน
             เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
         1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
         2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
            จัดโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่น  เรียบง่าย  มีชีวิตชีวา  วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล  มีความปลอดภัย  มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี   เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน  เพื่อให้นักเรียนได้เห็นแบบอย่างและสิ่งที่ดีจะได้ซึมซับกับสิ่งเหล่านั้น  และอยากที่จะมาเรียนอีกทั้งการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี   จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
  คุณภาพผู้เรียนคือการที่ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์  การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องอาศัยการดำเนินการพัฒนาในกระบวนการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล  เช่น  การจัดกิจกรรมหรือโครงการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆ
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนนั้นควรที่จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมของวิชาต่างๆหรือจัดกิจกรรมพานักเรียนไปปฏิบัตินอกสถานที่ต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติได้จริงได้ประสบการจริงหรือได้ซึมซับคุณธรรมจริยธรรมเหล่านั้น 

กิจกรรมที่ 14

การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร? ยกตัวอย่างประกอบ 
จากวิธีการจดบันทึกทั่วไปลงในกระดาษไปจนจบบรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ให้ใช้การวาดภาพแทนประโยคยาว ๆ โดยการถ่ายทอดความคิด หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงในกระดาษ โดยการใช้ ภาพ สี เส้น และการโยงใยความรู้ที่มี  แทนการจดแบบเดิม
แผนที่ความคิดหรือ Mind Mapping  จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ตัวอย่างเช่น  นำมาใช้ในการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
           
หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการคิดอย่างมีระบบ  มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิดเป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

กิจกรรมที่ 13

   1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
จะเห็นว่าลักษณะพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กไทยปัจจุบันนั้นไม่ค่อยเหมาะเท่าที่ควร  เพราะมีลักษณะการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกินหรือเป็นโรคอ้วนได้ง่าย  มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตของคนปัจจุบันสุขสบายขึ้น มีเครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ซึ่งล้วนแต่ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ทำให้เด็กมีกิจกรรมการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวลดลง  จึงทำให้เกิดโรคอ้วน  สุขภาพร่างกายจึงอ่อนแอและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ง่าย

 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
            การที่จะมีสุขภาพที่ดีต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หารพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยเปลี่ยนไป มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่ม ความขี้เกียจเข้าก็มากขึ้น  เด็กไทยในปัจจุบันอาจไม่ได้มีปฏิทินการออกกำลังกายอย่างจริงจัง  จะมีการออกกำลังกายตอนที่ว่างจากการเรียนคือตอนเย็น แต่บางคนต้องเรียนกวดวิชา จึงไม่ได้ออกกำลังกายได้เท่าที่ควร หรือเด็กบางคนติดเกมเล่นแต่เกมจนไม่ทำอะไร จึงทำให้มีสุขภาพที่ไม่ค่อยดีและก็มีโรคภัยอื่นๆตามมา
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการนั้นก็เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดี  โดยสอดแทรกไว้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
            สองสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนครูอาจทำความรู้จักกับเด็กได้มากพอสมควร อาจจะพอจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆ  เป็นเด็กที่ควรจัดอยู่ในกลุ่มใด  โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กจากการตั้งใจเรียน หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร  จึงสามารถที่จะจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆควรจัดอยู่ในกลุ่มใด
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) 
            ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน  เช่น  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
เยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเป็นการเข้าไปพบปะพูดคุย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆเท่าที่ทางโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือได้  เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน และจะได้นำข้อมูลในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาต่อไป
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ  ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
จะมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ  เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก  และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
       
มี  เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร  จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ  สนับสนุน  หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป



กิจกรรมที่ 12

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

1) การวิเคราะห์หลักสูตร
             หมายถึง  เป็นเทคนิควิธีการ ที่จะช่วยให้ผู้สอนทราบว่า จะต้องสอนและประเมินผลอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรแต่ละวิชากำหนดไว้
  2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
      หมายถึง  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อม ในกาเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้อง เลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน
   3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย       หมายถึง  ในการจัดกิจกรรม ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน  
   4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
       หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ให้เรียนห้ผู้เรียน
   5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
         หมายถึง การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
  6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ         
       จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน
เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระ  สังคมศึกษา    ศาสนา  และวัฒนธรรม         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ศาสนา เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง ศาสนา เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม หลักธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็น
หลักปฏิบัติในการอยู่รวมกันสาระสำคัญศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ศาสดาของศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1. เล่าเกี่ยวกับการเกิดศาสนาและความสำคัญของศาสนาหรือศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือได้
2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือได้
3. บรรยายประโยชน์ของศาสนาที่มีต่อมนุษย์ได้
สาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนร้องเพลง วันมาฆะบูชา เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนแล้ว ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับศาสนาที่นักเรียนนับถือว่า ภายในห้องเรียนของเรามีเพื่อน ๆ ที่นับถือศาสนาอะไรบ้าง แล้วให้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดศาสนา
2. ให้นักเรียนดูภาพพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ แล้วสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับศาสนา เช่น ในภาพเป็นพิธีกรรมในศาสนาใด (พุทธ) กิจกรรมนี้เรียกว่าอะไร (การทำบุญ) นักเรียนเคยทำบุญหรือไม่ ทำบุญ แล้วมีความรู้สึกอย่างไร
3. ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัดกับผู้ปกครอง การเวียนเทียน การรักษาศีล การบวชพระ
4. ให้นักเรียนนำประสบการณ์ในข้อ 3 มาแสดงบทบาทสมมุติ แล้วศึกษาใบความรู้
5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของศาสนา เขียนเป็นแผนผังความคิด ลงในใบงานที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
6. นักเรียนทำใบงานที่ 2 ประโยชน์ของศาสนา
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงองค์ประกอบของศาสนา และประโยชน์ของศาสนากระบวนการวัดผลประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
3. การนำเสนอผลงาน
4. การตรวจผลงาน
เครื่องมือ
1. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4. แบบประเมินการตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมิน
1. สังเกตการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
3. การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงาน
2.ใบความรู้
3. ห้องสมุด

กิจกรรมที่ 10

กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
              แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่แผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ยึดแนวสันปันน้ำอันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและบริเวณรอบๆว่าเป็นส่วนของประเทศนั้น  ไทยได้ทำสัญญาต่อศาลระหว่างประเทศยืนยันที่จะยึดแนวสันเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นสันแบ่ง
กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว
 กรณี mou43 
               ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อาว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
                ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราะดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่
          ดังนั้น รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย